100percent59

ประเด็นการนิเทศ 100% ภาคเรียนที่ 2/2559

ข้อมูลประกอบ อยู่ที่นี่

1. ด้านความพร้อมอาคารสถานที่ ห้องเรียน สื่อและแหล่งเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม

1.1 ความสะอาดของบริเวณ อาคารเรียน แหล่งเรียนรู้และอาคารสถานที่อื่นๆ

1.2 การจัดทำป้ายคำศัพท์ภาษาอังกฤษในสถานที่กำหนดมีความถูกต้องเหมาะสม

1.3. การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (ธนาคารขยะและการคัดแยกขยะ)


2. การเตรียมการตามจุดเน้นตามยุทธศาสตร์ นโยบายกระทรวง นโยบายเร่งด่วน

2.1 การท่องบทอาขยานและท่องสูตรคูณ ส่งเสริมการคิดเลขเร็ว

2.2 การจัดกิจกรรมการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม/การใช้สื่อทางไกล ( DLTV/DLIT)

2.3 การยกระดับความสามารถภาษาอังกฤษของนักเรียน(หลักสูตร/สื่อ/การทดสอบ)

2.4 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ

2.5 การจัดกิจกรรมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

2.6 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย

2.7 การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ที่เข้มข้น

2.8 การพัฒนาการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา(STEM Education)

2.9 การพัฒนาทักษะเด็กในศตวรรษที่ 21 (3R 8C การอ่าน การเขียน การคิดเลข)

2.10 การนิเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ความเข้าใจ (นิเทศภายใน ร.ร.)

2.11 การส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ

2.12 การส่งเสริม/การเตรียมนักเรียนในการแข่งขันทักษะวิชาการ ศิลปหัตถกรรมฯ ครั้งที่ 66


3 การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมนักเรียน

3.1 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน

3.2 การจัดกิจกรรมสภานักเรียน

3.3 การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

3.4 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการสอนลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์

3.5 การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา


4 การยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

4.1 ครู มีการวิเคราะห์ผล NT ONET มีแผนและพัฒนาการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

4.2 ครูใช้ผลการวิเคราะห์จากข้อ 4.1 มาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

4.3 ผอ.มีแผนกำกับติดตามและมีการนิเทศภายใน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้น

5. โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

5.1 การปรับโครงสร้างเวลาเรียน(ป.1-3)กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (กิจกรรมที่กำหนด/เลือก)

5.2 การจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้เชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผ่านการพัฒนาทั้ง 4H

5.3 ร.ร.มีแผนการดำเนินงาน/มีคู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน(ปรับปรุงใหม่)และใช้เป็นเครื่องมือ

รายละเอียด

1.3 Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตามมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 12/2557 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ -ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการขยะเก่าสะสม -ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างรูปแบบใหม่ เพื่อมุ่งสู่พลังงาน -ยุทธศาสตร์ที่ 3 วางระเบียบมาตรการการบริหารจัดการขยะและของเสียอันตราย -ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างวินัยคนในชาติ แนวทางดำเนินงาน มี 3 แนวทาง คือ - ระยะเร่งด่วน 6 เดือน - ระยะปานกลาง 1 ปี - ระยะยาว 1 ปีขึ้นไป

2.1 ท่องอาขยาน สูตรคูณ คิดเลขเร็ว

1. คู่มือ-คิดในใจ 8.แบบฝึกคิดเลขเร็วชี้น ป.1

2. เทคนิคการคิดในใจ 9.แบบฝึกคิดเลขเร็วชี้น ป.2

3. การคิดในใจระดับ 1 10.แบบฝึกคิดเลขเร็วชี้น ป.3

4. การคิดในใจระดับ 2 11.แบบฝึกคิดเลขเร็วชี้น ป.4

5. การคิดในใจระดับ 3 12.แบบฝึกคิดเลขเร็วชี้น ป.5

6. การคิดในใจระดับ 4 13.แบบฝึกคิดเลขเร็วชี้น ป.6

7. การคิดในใจระดับ 5

บทอาขยาน ป.1-ม.3

2.2 แนวทางการประเมิน dltv/dlit

2.3 การยกระดับความสามารถภาษาอังกฤษของนักเรียน(หลักสูตร/สื่อ/การทดสอบ)

เมื่อเดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา ทางสพฐ.ได้ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยใช้ศูนย์ Booth Camp ที่ จ.ชลบุรี ในการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษนำร่อง 350 คน และมีผลเป็นที่น่าพอใจ จึงจะมีการจัดอบรมครูภาษาอังกฤษไปยังศูนย์ Booth Camp ใน 4 ภูมิภาค ให้ได้ 50,000 คน นอกเหนือจากนั้นยังจะเพิ่มชั่วโมงสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้น ป.1-3 จาก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในภาคเรียนที่ 2 ของปี 59 อีกด้วย จะเริ่มใช้กับโรงเรียนโครงการประชารัฐ โรงเรียนที่ร่วมโครงการลดเวลาเพิ่มเวลารู้ และโรงเรียนที่มีความพร้อมสมัครใจเข้าร่วมอีกกว่า 2 หมื่น โรงเรียนทั่วประเทศ

ชั่วโมงที่ 1 นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ เช่น การนำอินเทอร์เน็ตหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ มาใช้

ชั่วโมงที่ 2 เน้นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional English)

ชั่วโมงที่ 3 จัดการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือ เช่น อ่านนิทานภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

ชั่วโมงที่ 4 เน้นให้เด็กรู้คำศัพท์อย่างน้อยวันละ 5 คำ เพราะการมีคลังคำศัพท์จำนวนมากจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กเช่นกัน โดยจะมีการกำหนดชัดเจนว่าในแต่ละระดับชั้นจำเป็นต้องรู้คำศัพท์กี่คำ อาทิ นักเรียนชั้น ป.1-ม.6 ต้องเรียนรู้คำศัพท์ระดับชั้นละ 1,000 คำ เมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้น ม.6 ควรรู้คำศัพท์รวมแล้ว 12,000 คำ ซึ่งเราจะไม่ยัดเยียดให้เด็กท่องคำศัพท์ แต่จะใช้วิธีการต่าง ๆ ให้เด็กจำคำศัพท์ได้ เช่น การดูหนังและการฟังเพลง เป็นต้น

ชั่วโมงที่ 5 เป็นชั่วโมงซ่อมเสริมผู้ที่เรียนอ่อนภาษาอังกฤษ ส่วนคนที่เก่งแล้วจะมีกิจกรรมให้เรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การดูการ์ตูนหรือภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งมากขึ้น ทั้งนี้ครูผู้สอนอาจสอดแทรกเนื้อหาด้านไวยากรณ์ในชั่วโมงสอนด้วย อีกทั้งสามารถปรับหรือสลับเนื้อหาในชั่วโมงที่สอนได้ตามความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนและนักเรียนในชั้นเรียน

---ตัวอย่างโครงสร้างเวลาเรียน และการลง ป.พ. ๑

2.4 ค่านิยม 12 ประการ

- ท่าทางประกอบเพลง ค่านิยม 12 ประการ ปฐมวัย

- เพลง The 12 core valua of Thai (อนุบาลวัดนางนอง)

- เพลงค่านิยม 12 ประการ แกรมมี่

- เพลงประกอบท่าทาง ค่านิยม 12 ประการ อนุบาลบางระจัน

- หมอลำ ลูกทุ่ง ค่านิยม 12 ประการ รร เทศบาล 3 อุดรธานี

- ท่าทางประกอบ เพลงค่านิยม 12 ประการ รร สตรีวิทยา 2

2.5 การจัดกิจกรรมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

2.6 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย

2.7 การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ที่เข้มข้น

2.9 การพัฒนาทักษะเด็กในศตวรรษที่ 21 (3R8C)

3R และ 8C ดังนี้ 3R ประกอบด้วย 1. Reading การอ่านออก, (W)Riting การเขียนได้

และ (A)Rithemetics การคิดเลขเป็น ส่วน 8C ประกอบด้วย 1.Critical Thinking and Problem Solving การสอนเด็กให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ

และมีทักษะในการแก้ปัญหา 2.Creativity and Innovation มีทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม

3.Collaboration, Teamwork and Leadership ทักษะการทำงานเป็นทีม

4.Computing and ICT Literacy มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5. Cross-cultural Understanding มีทักษะด้านความเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม

6.Communications, Information, and Media Literacy มีทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ

7.Career and Learning Skills มีทักษะด้านอาชีพและการเรียนรู้ และ

8.Compassion ความเห็นอกเห็นใจ มีเมตตา กรุณา วินัย คุณธรรม จริยธรรม

4 การยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

-- โปรแกรม PISA like

~~ประเด็นสำคัญของการทดสอบ NT/O-NET และการยกระดับผลการทดสอบ

1.วิธีการยกระดับผลการทดสอบ NT/O-NET ที่นำเสนอมี 4 วิธี คือ

1.1) ให้สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบ NT/O-NET เพื่อเตรียมความพร้อม และศึกษาแผนผังโครงสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) รูปแบบข้อสอบ (Item Form) และแนวทางการจัดสอบฯ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้แลพัฒนาได้ตรงจุด

1.2) พัฒนาระบบการทดสอบและประเมินผลในชั้นเรียน โดยจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด และให้ประเมินผลการเรียนตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดและระดับพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1.3) วิเคราะห์ผล NT/O-NET เพื่อนำผลไปใช้ และจัดกลุ่มคุณภาพโรงเรียนตามผลการประเมินเพื่อแก้ปัญหาที่ตรงจุด เช่น วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อจัดทำแผนยกระดับคุณภาพฯ

1.4) วางระบบการพัฒนาและการสนับสนุนส่งเสริมด้านการวัดและประเมินผลการเรียน เช่น มีการนำตัวอย่างข้อสอบและแบบสอบอัตนัยหรือเขียนตอบไปใช้ในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน จัดสอบ Pre O-NE..

--รูปแบบข้อสอบโอเน็ต (TBP: Test Blue Print) ปี 2559